การศึกษาของ AJC เกี่ยวกับ GVC ถูกนำเสนอในการประชุมระดับสูงเรื่องการค้าและการลงทุนภายในอาเซียนที่จัดขึ้นในกรุงฮานอย

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)– 22 มกราคม 2563

นาย Masataka Fujita เลขาธิการศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (AJC) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการสัมมนาระดับสูงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน:“ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนภายในอาเซียนสำหรับประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและตอบสนองอย่างทันท่วงที หรือ “Enhancing Intra-ASEAN Trade and Investment for Cohesive and Responsive ASEAN Community”” ซึ่งจัดขึ้นในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 เพื่อแบ่งปันความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของการค้าและการลงทุนภายในอาเซียนโดยมุ่งเน้นที่การเติบโตของการมีส่วนร่วมของอาเซียนในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก (GVCs)

SG Fujita of the AJC (third from the right) participating in the High-Level Symposium on Intra-ASEAN Trade and Investment.  From the left, Mr. Hirokazu Kobayashi, Executive Director, JETRO Singapore; Ms. Hoang Ngoc Anh, Acting General Secretary, Vietnam Textile and Apparel Association – VITAS; Mrs. Le Thi Hai Van, Deputy Director-General, Foreign Investment Agency, Ministry of Planning and Investment of Viet Nam; Mr. Masataka Fujita, Secretary General, ASEAN-Japan Centre; Dr. Nguyen Duc Thanh, Associate Professor, Founder and Director of the Viet Nam Institute for Economic and Policy Research (VEPR); and Atty. Allan B. Gepty, SEOM Leader of the Philippines (Photo: Business Wire)

SG Fujita จาก AJC (ลำดับสามจากขวา) มีส่วนร่วมในการสัมมนาระดับสูงด้านการค้าและการลงทุนภายในอาเซียน จากซ้าย นาย Hirokazu Kobayashi ผู้อำนวยการบริหาร JETRO Singapore ; Ms. Hoang Ngoc Anh, รักษาการเลขาธิการสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม Vietnam Textile and Apparel Association – VITAS;  Mrs. Le Thi Hai Hai รองผู้อำนวยการสำนักงานการลงทุนต่างประเทศกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม, Mr. Masataka Fujita, เลขาธิการศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น; ดร. Nguyen Duc Thanh รองศาสตราจารย์ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายแห่งเวียดนาม (VEPR); และAtty. Allan B. Gepty, ผู้นำ SEOM ของฟิลิปปินส์ (รูปภาพ: Business Wire)

การประชุมครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นทางการครั้งแรกของอาเซียนในปี 2563 นับตั้งแต่ที่เวียดนามเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียน และถูกจัดโดยกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนามในการประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและกระทรวงการวางแผนและการลงทุน มีแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 120 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีในอดีตและผู้ดำรงตำแหน่งจากบางประเทศในอาเซียน เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจ (SEOM) จากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมไปถึงผู้แทนและผู้เชี่ยวชาญจากสำนักเลขาธิการอาเซียน องค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอื่น ๆ

ทังนี้โดยมีฉากหลังที่ว่าสถานการณ์การค้าและการลงทุนในอาเซียนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ และด้วยความเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนจะช่วยให้ทำให้ประชาคมอาเซียนที่มีความร่วมมือและตอบสนองที่ดีขึ้น การประชุมสัมมนาได้ถกปัญหาสามประเภท ได้แก่ การขจัดอุปสรรคด้านสถาบันและนโยบาย การเคลื่อนตัวไปตาม GVC และการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ราบรื่น การประชุมมีจุดมุ่งหมายที่จะมาพร้อมกับข้อเสนอแนะทางนโยบายที่จะรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอาเซียนในปี 2563 เพื่อพิจารณาต่อไป

SG Fujita ได้เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง“ การที่อาเซียนมีส่วนร่วมมากขึ้นและขยับเข้าหาห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกมากขึ้น” ในการปราศรัยของเขา เขาพูดถึงภาพรวมของ GVCs ในอาเซียน และแบ่งปันมุมมองของเขาโดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ AJC เกี่ยวกับวิธีการที่อาเซียนสามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นใน GVC และวิธีการที่จะเลื่อนขั้นทาง GVC อ้างอิงจากข้อมูลการค้าที่เพิ่มมูลค่า เขาเน้นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนควรมีส่วนร่วมใน GVCs เนื่องจากมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการมีส่วนร่วมของ GVC และอัตราการเติบโตของ GDP ต่อหัว เช่นหากประเทศมีส่วนร่วมมากขึ้นใน GVCs ประเทศนั้นมีแนวโน้มที่จะมีโอกาสสูงที่จะมีการเติบโตของ GDP ต่อหัวที่สูงขึ้น เขาอธิบายเพิ่มเติมว่านอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการมีส่วนร่วมของ GVC และปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI): กล่าวคือยิ่งประเทศได้รับ FDI มากเท่าไหร่ประเทศก็มีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้นใน GVC และแนะนำประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้มแข็งและปรับปรุงมาตรการของตนเพื่อสร้างความดึงดูดต่อไป

SG Fujita ได้เสนอประเด็นนโยบายห้าประการ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าถึง GVC จะได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของ GVC และจากการอัพเกรดทาง GVC สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป ซึ่งประเด็นนโยบายประกอบด้วย (1) การนำ GVC รวมเข้าไปในกลยุทธ์การพัฒนาโดยรวมและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม (2) การสร้างการเจริญเติบโตของ GVC โดยการรักษาสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เอื้ออำนวยและวางข้อกำหนดเบื้องต้นไว้สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน (3) การสร้างขีดความสามารถในการผลิตในบริษัทท้องถิ่น (4) การลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของ GVC ซึ่งต้องมีกรอบการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและการกำกับดูแลที่ดี และ (5) การปรับนโยบายการค้าและการลงทุนซึ่งหมายถึงการระบุการผนึกกำลังระหว่างนโยบายทั้งสองด้านและในสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

หลังจากเข้าร่วมการประชุม เขารู้สึกประทับใจกับความสนใจของผู้กำหนดนโยบายอาเซียนในการศึกษาของ AJC เกี่ยวกับ GVC “ผมหวังว่าคำแนะนำของเราอาจเป็นประโยชน์สำหรับอาเซียนในการเพิ่มการมีส่วนร่วมใน GVC และการใต่ระดับไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงทิศทาง GVC ของตน เนื่องจากนี่เป็นตัวเลือกเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับอาเซียนในการจะมุ่งสู่การบรรลุประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พิมพ์เขียวปี 2568 โดยการใช้ลักษณะของ 'เศรษฐกิจที่มีการบูรณาการสูงและมีความแน่นแฟ้น' และ 'อาเซียนที่มีการแข่งขันระดับนวัตกรรมและมีความเป็นพลวัตร' "เขากล่าว

AJC เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นในปี 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวรวมถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับญี่ปุ่น

เว็บไซต์ทางการของศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น: https://www.asean.or.jp/en/

เอกสารของ AJC: https://www.asean.or.jp/en/centre-wide/centrewide_en/

ดูคลังภาพ/มัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/52160169/en

ติดต่อ:

Junko Nukiyama

สำนักงานเลขาธิการ

ASEAN-Japan Centre

โทร: +81-3-5402-8118

อีเมล: toiawase_ga@asean.or.jp

The Bangkok Reporter