การส่งออกจากประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่งดำเนินการผ่านการค้ารูปแบบใหม่ ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น กล่าว

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–7 พ.ค. 2563

การค้าของประเทศไทยไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงระหว่างผู้ส่งออกและผู้นำเข้าอิสระหรือระหว่างกลุ่มบริษัทข้ามชาติเพียงเท่านั้น แต่ยังผ่านการผลิตโดยการ ไม่ถือหุ้นโดยตรง ( non-equity modes หรือ NEM) โดยรูปแบบของการส่งออกเช่นนี้เพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐในสินค้าและบริการหรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของการส่งออกทั้งหมดจากประเทศไทยในปี 2559 จากผลการรายงานชิ้นใหม่ของศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่นว่าด้วย NEMs ที่ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาในหัวข้อ ( (Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Thailand [https://www.asean.or.jp/en/trade-info/nem_papers/])

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีคุณสมบัติเป็นมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20200506006169/en/

Paper "Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Thailand" is downloadable from the AJC Website. (Graphic: Business Wire)

สามารถดาวน์โหลดรายงาน "Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Thailand" ได้ที่เว็บไซต์ AJC (กราฟิก: Business Wire)

บริษัทต่าง ๆ ของไทยมีส่วนร่วมในการค้า NEMs หลายประเภท ซึ่งรวมถึง การทำสัญญาเกษตรพันธสัญญา การเหมาช่วง สัญญาการจัดการ และธุรกิจแฟรนไชส์ ประเภทของ NEM จะแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกและการจ้างงานในธุรกิจ NEM ที่ใช้การทำการรับเหมาช่วงมากที่สุด ส่วนร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ มักจะดำเนินการผ่านข้อตกลงแฟรนไชส์และการออกใบอนุญาต

การถือครองบริษัทนอกประเทศ หรือ Offshoring businesses กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในบางอุตสาหกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในอำนาจการออกแบบ (design power) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสนใจของผู้บริโภคที่หลากหลาย ตัวอย่างหนึ่งคืออุตสาหกรรมด้านเนื้อหาความบันเทิง ซึ่งมีรายได้รวมของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 6,300 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยการทำข้อตกลง NEM กับ TNCs เช่นนี้ บริษัทในประเทศและอุตสาหกรรมต่างๆ ของบริษัทเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจอย่างมาก อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขสำหรับบริษัทในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาที่เป็นผลเนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของ NEMs และประสบการณ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความพิเศษบางอย่างในประเทศไทย (เช่น อำนาจครอบงำของบริษัทขนาดใหญ่ ๆ) ทั้งนี้ TNCs สามารถยกเลิกสัญญาได้อย่างง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณภาพของบริการหรือสินค้าที่จัดหาให้ไม่ตรงตามมาตรฐานการแข่งขันของพวกเขา หรือเมื่อซัพพลายเออร์คู่แข่งรายอื่นปรากฏตัวขึ้นในต่างประเทศ

ดังนั้นรัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาขีดความสามารถด้าน NEM ของบริษัทในประเทศ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการผนึกกำลังทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย TNC ได้อย่างเหมาะสม โดยการคำนึงถึงการการแข่งขันบีบบังคับให้ TNCs ต้องทำการปรับปรุงคุณภาพและราคาของซัพพลายเออร์อย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้น บางครั้งบริษัท NEM ในประเทศจึงแทบปราศจากการกำกับดูแลของ TNC  ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่สามารถพึ่งพาระดับการกำกับดูแลและคำแนะนำของลูกค้าต่างประเทศ สำหรับการกำกับดูแลบริษัท NEM ในประเทศได้

รัฐบาลควรพิจารณาดำเนินการและเสริมสร้างกรอบการกำกับดูแลสำหรับบริษัท NEM เพื่อช่วยส่งเสริมให้บริษัท NEM สามารถส่งออก ส่งเสริมนวัตกรรม ขยายการจ้างงาน และอัพเกรดเทคโนโลยีของตนได้

ดูเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200506006169/en/

ติดต่อ:

ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Centre)

Tomoko Miyauchi

เว็บไซต์: www.asean.or.jp/en/

อีเมล: toiawase_ga@asean.or.jp