ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นนำเสนอกุญแจสำคัญที่จะเสริมแกร่งให้กับธรุกิจการเกษตรในอาเซียน: วิธีมีส่วนร่วมมากขึ้นในห่วงโซ่มูลค่าโลกของธรุกิจการเกษตร

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–24 มีนาคม 2563

ธุรกิจการเกษตรในอาเซียนมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นหรือไม่? คำตอบจากศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น คือ ใช่ โดยศูนย์ดังกล่าวสามารถตอบคำถามนี้ได้จากการมีส่วนร่วมมากขึ้นในห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVC) ของธรุกิจการเกษตร ตามที่เผยในรายงาน “ห่วงโซ่มูลค่าโลกในอาเซียน: ธุรกิจการเกษตร” ซึ่งตีพิมพ์วันนี้ (https://www.asean.or.jp/en/centre-wide-info/gvc_database_paper15/)

เอกสารประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยเนื้อหามัลติมีเดีย ดูอย่างเต็มรูปแบบได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20200324005240/en/

"Global Value Chains in ASEAN - Paper 15: Agribusiness" by ASEAN-Japan Centre (Graphic: Business Wire)

"ห่วงโซ่มูลค่าโลกในอาเซียน – เอกสารฉบับที่ 15: ธุรกิจการเกษตร" โดยศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (กราฟิก: Business Wire)

ธุรกิจการเกษตร1 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยคิดเป็น 12% ของจีดีพีในอาเซียนโดยเฉลี่ยในปี 2561 ธุรกิจการเกษตรยังสร้างงานและช่องทางหาเลี้ยงชีพให้กับประชาชน 100 ล้านคน หรือหนึ่งในหกของประชากรทั้งหมด และครอบครัวของพวกเขาในอาเซียน

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรายได้หลักจากการค้าขายของหลายประเทศในอาเซียน สินค้าส่งออกในธุรกิจการเกษตรที่มีการเพิ่มมูลค่าของอาเซียนคิดเป็นมูลค่า 1.02 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2558 ส่วนแบ่งของปัจจัยการผลิตที่เกิดขึ้นนอกประเทศสำหรับสินค้าส่งออกในธรุกิจการเกษตรของอาเซียน หรือ การเชื่อมโยงไปข้างหลัง (backward linkage) ในห่วงโซ่มูลค่าโลกอยู่ที่ 20% ของการส่งออกรวมทั้งหมดของอาเซียนในปี 2558 ส่วนแบ่งของมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นนอกประเทศ (foreign value added) ของผลิตภัณฑ์อาหารมีมูลค่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าสินค้าธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดสามอันดับแรกของอาเซียน มูลค่าเพิ่มของอาเซียนรวมในการส่งออกของประเทศอื่น หรือที่เรียกว่า forward participation ในห่วงโซ่มูลค่าโลกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2533

การเพิ่มความสามารถในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเป็นนโยบายที่มีความสำคัญในการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความมั่นคงทางด้านอาหาร ในขณะเดียวกัน ในบางประเทศ โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว และเมียนมา (กลุ่มประเทศ CLM) ยังขาดความสามารถในการแปรรูปอาหาร และยังนำเข้าอาหารแปรรูปปริมาณมากสำหรับตลาดภายในประเทศ การเปลี่ยนจากการทำการเกษตรง่าย ๆ เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเป็นความสำคัญลำดับต้น ๆ ของประเทศในอาเซียน

การมีส่วนร่วมและยกระดับห่วงโซ่มูลค่าโลกธุรกิจการเกษตรสามารถสร้างโอกาสให้อาเซียนในการเพิ่มความสามารถในการผลิตด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตจากนอกประเทศที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ได้มาผ่านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการดำเนินการแบบไม่ถือหุ้นโดยตรง (NEM)

ญี่ปุ่นเป็นผู้สนับสนุนธรุกิจการเกษตรที่สำคัญของอาเซียนมาตลอด มีความพยายามร่วมกันระหว่างรัฐบาลของญี่ปุ่นและภาคเอกชนในการพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอาเซียนและนำไปบูรณาการกับห่วงโซ่มูลค่าโลก

เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกของธรุกิจการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น ได้เสนอข้อแนะนำทางนโยบายสามกลุ่มเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต ดังนี้

  • อาเซียนควรตั้งเป้าพัฒนา สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย เพื่อส่งเสริมการค้าขายและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในธุรกิจการเกษตร ซึ่งเชื่อมโยงผู้ผลิตระดับท้องถิ่นกับห่วงโซ่อุปทานระดับโลก และกระตุ้นให้เกิดการโอนย้ายเทคโนโลยีและความสามารถในการผลิตที่ดีขึ้น
  • อาเซียนควร ยกระดับความสามารถในการซึมซับความรู้ ของผู้ผลิตอาหารในระดับท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงการกระจายทางด้านเทคโนโลยี
  • นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการดำเนินการแบบไม่ถือหุ้นโดยตรง (NEM) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาเซียนควรส่งสริมการลงทุนในภาคการเกษตรอย่างมีความรับผิดชอบ ด้วยการสนับสนุนหลักปฏิบัติในระดับนานาชาติ เช่น หลักการลงทุนภาคการเกษตรอย่างรับผิดชอบ

1 ธุรกิจการเกษตรในเอกสารนี้ครอบคลุมเฉพาะภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเท่านั้นเนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านข้อมูล อุตสาหกรรมอื่นในห่วงโซ่มูลค่า เช่น การกระจายสินค้า การค้าปลีก และธุรกิจอื่น ๆ (เช่น ร้านอาหาร) จึงไม่ถูกรวมอยู่ด้วย

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200324005240/en/

ติดต่อ:

ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
Tomoko Miyauchi
toiawase_ga@asean.or.jp
https://www.asean.or.jp/en/

The Bangkok Reporter