ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น เผย การส่งเสริมการค้าบริการด้านการศึกษาในอาเซียนช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–26 มีนาคม 2563

บริการด้านการศึกษาเป็นหนึ่งในบริการทางสังคม1 ที่มีทั้งหมดสามด้าน ภายใต้การศึกษาของศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJC) เพื่อส่งเสริมการค้าบริการทางสังคม

เอกสารประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยเนื้อหามัลติมีเดีย ดูอย่างเต็มรูปแบบที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20200326005246/en/

"Promoting Services Trade in ASEAN: Trade in Education Services" by ASEAN-Japan Centre (Graphic: Business Wire)

"การส่งเสริมการค้าบริการในอาเซียน: การค้าบริการด้านการศึกษา" โดยศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (กราฟิก: Business Wire)

ภารกิจทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของบริการด้านการศึกษาคือการสร้างทุนมนุษย์ให้มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในที่สุดจะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ AJC เผยในรายงานเรื่อง “Promoting Services Trade in ASEAN: Education Services” หรือ การส่งเสริมการค้าบริการในอาเซียน: บริการด้านการศึกษา (https://www.asean.or.jp/en/trade-info/pst2_papers/)

กลุ่มประเทศอาเซียนมีส่วนร่วมมากขึ้นในประเภทและรูปแบบของการค้าบริการด้านการศึกษาส่วนใหญ่ แต่หลัก ๆ แล้วจะอยู่ในฐานะผู้นำเข้า ในปี 2560 ในรูปแบบที่ 2 (การบริโภคในต่างประเทศ – หนึ่งในรูปแบบการให้บริการที่มีทั้งหมดสี่รูปแบบ) มีนักเรียนมากกว่า 285,000 คนจากทุกประเทศในอาเซียนศึกษาในต่างประเทศ ขณะที่ในปี 2543 มีนักเรียนทั้งหมด 144,000 คน สำหรับการส่งออกการศึกษาในระดับอุดมศึกษาผ่านรูปแบบที่ 2 ในปี 2560 อาเซียนได้ต้อนรับนักเรียนต่างชาติราว 200,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาศึกษาในสามประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย (100,000 คน) สิงคโปร์ (53,000 คน) และไทย (32,000 คน) การส่งออกเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความน่าดึงดูดของ “วิทยาเขตสาขาในต่างประเทศ” หรือ IBC

การไหลเวียนทางการค้าที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในแง่ของมูลค่า (และใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในแง่ของปริมาณ) คือ รายได้จากโรงเรียนนานาชาติ (รูปแบบที่ 3 – การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ) จำนวนโรงเรียนในประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ขยายเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เช่นเดียวกับการสมัครเข้าเรียน (เพิ่มจากนักเรียน 300,000 คนในปี 2558 เป็น 520,000 คนในปี 2562) จากการที่รัฐบาลค่อย ๆ เปิดเสรีให้กับนักเรียนในท้องถิ่นสามารถเลือกเข้าเรียนโรงเรียนเหล่านี้ได้ ในปี 2562 รายได้จากค่าเล่าเรียนของโรงเรียนนานาชาติในอาเซียนมีมูลค่าเกินกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ฯ

สำหรับการค้าในอาเซียนผ่านทางรูปแบบที่ 4 การเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดา (ศาสตราจารย์ ครู และนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศเป็นระยะเวลาชั่วคราว) ส่วนใหญ่แล้วเป็นการนำเข้า ซึ่งถือว่ามีค่อนข้างมากเนื่องจากการขยายอย่างรวดเร็วของการจัดตั้งธรุกิจเพื่อให้บริการ (รูปแบบที่ 3) ครูต่างชาติจำนวน 33,000 คนในหกประเทศของอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียนนานาชาติ สร้างเม็ดเงินจากค่าจ้างเงินเดือนรายปี (และการนำเข้าผ่านรูปแบบที่ 4) เกือบราว 800 ล้านดอลลาร์ฯ

สำหรับการค้าผ่านรูปแบบที่ 1 (การไหลเวียนข้ามพรมแดนของบริการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกลผ่านทางออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือระดับประกาศนียบัตร) ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

การขยายตัวของการค้าด้านการศึกษาในอาเซียนเกิดขึ้นได้ด้วยการเปิดเสรีและการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ โดยเฉลี่ยแล้ว หากไม่รวมการค้ารูปแบบที่ 4 ตามข้อผูกมัดในการเปิดเสรีในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (AFAS) ค่าของดัชนีโฮคแมน (Hoekman) สำหรับประเทศอาเซียนทั้งหมดอยู่ที่ 0.84 (1 เท่ากับการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบในกรณีนี้) ประเทศส่วนใหญ่ค่อนข้างเปิดรับการค้ารูปแบบที่ 1 และ 2 การนำเข้าในรูปแบบที่ 3 ซึ่งก่อให้เกิดการค้าในรูปแบบอื่นด้วย มีข้อผูกพันต่อการเปิดเสรีน้อยที่สุดภายใต้กรอบ AFAS ส่งผลให้ดัชนีโดยรวมของการเปิดเสรีการค้าด้านการศึกษาลดลง

การเปิดเสรีเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่ก็ไม่สามารถเป็นเงื่อนไขที่เพียงพอสำหรับดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน และเพิ่มโอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รวมถึงการจัดทำกรอบการกำกับดูแลกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษา (HEI) ของต่างชาติที่มีความชัดเจน มีเสถียรภาพ และโปร่งใส การเข้ามามีส่วนร่วมของรัฐบาลอาจมีความจำเป็นในส่วนของการคัดเลือก เชื้อเชิญ และนำมหาวิทยาลัยต่างชาติที่มีคุณภาพมาสู่ประเทศ

อีกหนึ่งภารกิจด้านนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลคือการเพิ่มสิทธิประโยชน์และหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงของการค้าในบริการด้านการศึกษา ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้แตกต่างกันออกไปในการค้าแต่ละรูปแบบ การนำเข้าผ่านรูปแบบที่ 2 เป็นการเพิ่มต้นทุนมนุษย์ให้มาก ในกรณีที่ผู้จบการศึกษากลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตน หากไม่เช่นนั้น พวกเขาจะเป็นผู้ผลัดถิ่นที่มีทักษะ รัฐบาลสามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับของผู้จบการศึกษาเหล่านั้น (ด้วยการให้การยอมรับปริญญาจากต่างประเทศ เป็นต้น) และลดภาวะสมองไหลด้วยการสนับสนุนให้ผู้ผลัดถิ่นที่มีทักษะมาก ๆ กลับมา หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในปฏิสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์กับประเทศบ้านเกิด การจัดตั้งธรุกิจเพื่อให้บริการของสถาบันอุดมศึกษาต่างชาติอาจช่วยลดการนำเข้าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาผ่านการค้ารูปแบบที่ 2 เนื่องจากวิธีนี้ทำให้เกิดทางเลือกและสิ่งจูงใจ (มีต้นทุนที่ต่ำกว่า) สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นนั้น ๆ ในการได้รับปริญญาจากสถาบันต่างชาติโดยที่ไม่ต้องเดินทางออกจากประเทศ รวมถึงลดความรุนแรงของการขาดแคลนทักษะในกรณีที่วิทยาเขตสาขาในต่างประเทศมีความเชี่ยวชาญในหลักสูตรที่ไม่มีในประเทศนั้น ๆ

การเปิดรับการจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการอาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นการค้าหากมีข้อจำกัดเรื่องการส่งมอบที่เกี่ยวข้องในการค้ารูปแบบอื่น ๆ หรือข้อจำกัดที่นอกเหนือนโยบายด้านการค้า เช่น นโยบายด้านวีซ่าและการเข้าเมืองของชาวต่างชาติ ข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของการให้บริการต่างชาติและการเข้ามาของ “ใบปริญญาปลอม” สามารถลดลงได้ด้วยการตรวจสอบและจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานการประกันคุณภาพขึ้นมา การนำหลักเกณฑ์จากกรอบ AQAF มาใช้เพื่อจัดการการประกันและส่งเสริมคุณภาพของคุณวุฒิทางการศึกษาขั้นสูงอาจเป็นประโยชน์ในแง่นี้

นโยบายทางการศึกษาที่สำคัญคือกุญแจสำคัญสำหรับการรักษากลุ่มนักลงทุนปัจจุบันเอาไว้และกระตุ้นให้นักลงทุนเหล่านั้นพัฒนา รวมถึงดูดนักลงทุนรายใหม่ให้สนใจในกิจกรรมที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานและพนักงานที่มีทักษะ

1 บริการทางสังคมอีกสองด้านคือบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และบริการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเกี่ยวกับบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้มีการเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้แล้วโดย AJC (https://www.asean.or.jp/en/trade-info/pst2_papers/).

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20200326005246/en/

ติดต่อ:

ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
Tomoko Miyauchi
toiawase_ga@asean.or.jp
https://www.asean.or.jp/en/

The Bangkok Reporter