พื้นที่เพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพและพืชจีเอ็มเพิ่มขึ้นเป็น 185.1 ล้านเฮกตาร์ในปี พ.ศ. 2559

Logo

พื้นที่ทั่วโลกฟื้นตัวจากปี พ.ศ. 2558  หลังจากที่เกษตรกรปรับใช้วิธีการปลูกพืชแบบเทคโนโลยีชีวภาพอย่างต่อเนื่อง

ปักกิ่ง–(BUSINESS WIRE)–4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันนี้ the International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications หรือ ISAAA ได้เปิดเผยรายงานประจำปีซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การเพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพที่เพิ่มขึ้นถึง 110 เท่าทั่วโลก ภายในเวลาเพียง 21 ปีหลังจากมีการนำเข้าสู่ตลาด โดยมีการใช้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านเฮกตาร์ในปี พ.ศ. 2539 เป็น 185.1 ล้านเฮกตาร์ในปี พ.ศ. 2559 ทั้งนี้รายงานของ ISAAA ซึงมีหัวข้อว่า "สถานะของพืชเทคโนโลยีชีวภาพและพืชจีเอ็มเชิงพาณิชย์ทั่วโลก: 2016" ยังแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่ดำรงอยู่อย่างยาวนาน ของพืชเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งรวมไปถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคที่ได้รับจากพืชเทคโนโลยีชีวภาพอันหลากหลาย ที่เพิ่งได้รับอนุมัติให้มีการวางขายในท้องตลาดอีกด้วย

"พืชเทคโนโลยีชีวภาพได้กลายเป็นทรัพยากรทางการเกษตรที่สำคัญสำหรับเกษตรกรทั่วโลก เนื่องจากประโยชน์อันมหาศาลที่เกิดจากผลผลิต ความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการเก็บรักษาได้ดีขึ้น" ประธานคณะกรรมการของ ISAAA คุณ Paul S. Teng กล่าวไว้ "หลังจากที่ได้มีการการอนุมัติในเชิงพาณิชย์ให้มีการเพาะปลูกมันฝรั่งและแอปเปิ้ลพันธุ์เทคโนโลยีชีวภาพ ผู้บริโภคจะเริ่มได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากเทคโนโลยีชีวภาพ จากการที่ผลผลิตมีโอกาสเน่าเสีย หรือได้รับความเสียหายน้อยลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการลดขยะที่เกิดจากอาหาร และลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผลผลิตอาหารอีกด้วย "

เมื่อกล่าวถึงผลประโยชน์อื่น ๆ ของเทคโนโลยีชีวภาพ ISAAA รายงานว่า การใช้วิธีปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 เสมือนกับการลดรถตามท้องถนนลง เป็นจำนวนประมาณ 12 ล้านคันต่อปี ต่อเนื่องทุกปีในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยการลดการใช้พื้นดินทางการเกษตรลง 19.4 ล้านเฮกตาร์ ในปีพ.ศ. 2558 อีกทั้งยังลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและการใช้สารเคมีกำจัดแมลงลงไป 19%1 ในส่วนของประเทศกำลังพัฒนา การเพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพช่วยบรรเทาความหิวโหยโดยการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยและครอบครัวทั้งหมด 18 ล้านราย นำเสถียรภาพทางการเงินที่ดีขึ้นมาสู่กว่า 65 ล้านคน

"เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการช่วยเกษตรกรปลูกอาหารให้มากขึ้นโดยใช้พื้นที่น้อยลง" Randy Hautea ผู้ประสานงานของ ISAAA กล่าว "อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของพืชเทคโนโลยีชีวภาพจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็เฉพาะในกรณีที่เกษตรกรสามารถหาซื้อและปลูกพืชเหล่านี้ได้โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบและอนุมัติ ทางวิทยาศาสตร์"

เนื่องจากมีอัตราการอนุมัติและการขายของพืชเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการนำไปใช้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ISSA คาดว่าอัตราการปลูกเพื่อการสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรจากประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในหมู่ประเทศในแอฟริกาที่เคยมี กระบวนการเชิงกฎเกณฑ์ที่สร้างอุปสรรคต่ออัตราการยอมรับพืชเทคโนโลยีชีวภาพ ปัจจุบันนี้ก็มีการยอมรับพืชเทคโนโลยีชีวภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ. ศ. 2559 แอฟริกาใต้และซูดาน เพิ่มการเพาะปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง และฝ้าย เทคโนโลยีชีวภาพจาก 2.29 ล้านเฮกตาร์ ในปี 2558 เป็น 2.66 ล้านเฮกตาร์ ในปี พ.ศ. 2559 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในทวีป อันได้แก่ เคนยา มาลาวี ไนจีเรีย เอธิโอเปีย กานา ไนจีเรีย สวาซิแลนด์ และยูกันดา ก็เกิดคลื่นลูกใหม่ของการยอมรับขึ้น ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทบทวนกฎระเบียบ และกฎการอนุมัติในเชิงพาณิชย์สำหรับพืชเทคโนโลยีชีวภาพหลากหลายชนิดส่วนหนึ่ง

"แม้จะมีปัญหาเกี่ยวกับอุปสรรคด้านกฎระเบียบมายาวนาน แต่เกษตรกรชาวแอฟริกันก็ยังคงปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพต่อไปเนื่องจากความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการผลิต และความทนทานของพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพ" Hautea กล่าว "ขณะนี้หลาย ๆ ประเทศอื่น ๆ กำลังเดินหน้าในการทบทวนกฎระเบียบสำหรับพืชเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น กล้วย พืชจำพวกถั่ว และข้าวฟ่าง เราเชื่อว่าการเพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพจะยังคงเติบโตในประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกา และในที่อื่น ๆ ด้วย "

นอกจากนี้ ในปี พ. ศ. 2559 บราซิลเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพเป็นร้อยละ 11 ให้กับการปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย และคาโนลา ทำให้บราซิลยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตพืชเทคโนโลยีชีวภาพรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองเทคโนโลยีชีวภาพในบราซิลมีขนาดถึง 32.7 ล้านเฮกตาร์ จากพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองทั้งหมด 91.4 ล้านเฮกตาร์ที่ปลูกทั่วโลก

สำหรับปี พ. ศ. 2559 ISAAA มีรายงานถึงความสำเร็จของการทำการตลาดและการปลูกพืชผักและผลไม้เทคโนโลยีชีวภาพที่เกิดผลประโยชน์โดยตรงแก่ผู้บริโภค ซึ่งความสำเร็จนี้รวมถึงรวมถึงการอนุมัติเชิงพาณิชย์ของ Innate ™ Russet Burbank Gen 2 มันฝรั่งที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาเพื่อขายในสหรัฐอเมริกา และ Simplot Gen 1 White Russet ™ หรือ มันฝรั่งที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การสุขภาพของแคนาดา (Health Canada) สำหรับการขายในตลาดสด ในแคนาดา. พันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพเหล่านี้มีระดับแอสพาราจีน (asparagine) ต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะช่วยลดการสร้างสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในระหว่างการปรุงอาหารแบบใช้ความร้อนสูง นอกจากนี้ยังได้มีการเก็บเกี่ยวแอปเปิ้ลรุ่น Arctic® Apples ในปริมาณมากพอสำหรับการขายเชิงพาณิชย์  ในปี พ. ศ. 2559 ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในช่วงฤดูหนาว และคาดว่าจะนำออกขายในร้านขายของชำในสหรัฐอเมริกาต่อไปในปี พ. ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงาน ของ ISAAA ปี พ.ศ. 2559 ยังรวมถึง:

  • พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ด้วยการใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพ 185.1 ล้านเฮกตาร์เทียบกับ 179.7 ล้านเฮกตาร์ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งลดลงจากพื้นที่ 181.5 ล้านเฮกตาร์ในปี  พ.ศ. 2557
  • ในปี พ.ศ. 2559 มีทั้งหมด 26 ประเทศ ซึ่งได้แก่ 19 ประเทศกำลังพัฒนาและ 7 ประเทศอุตสาหกรรม ที่ปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพ การเพาะปลูกของประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ 54% เมื่อเทียบกับ 46% ของประเทศอุตสาหกรรม
  • 8 ประเทศในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงจีนและอินเดียมีการปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้พื้นที่ 18.6 ล้านเฮกตาร์ ในปี พ. ศ. 2559
  • 10 ประเทศในลาตินอเมริกา ซึ่งรวมถึง ปารากวัยและอุรุกวัย มีการปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้พื้นที่ 80 ล้านเฮกตาร์ ในปี พ. ศ. 2559
  • ในปี พ. ศ. 2559 ประเทศผู้นำในการปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา แคนาดา และอินเดีย ซึ่ง 5 ประเทศเหล่านี้ใช้พื้นที่ปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพเป็นจำนวน 91% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพทั่วโลก
  • 4 ประเทศในยุโรปซึ่งได้แก่ สเปน โปรตุเกส สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกีย ใช้พื้นที่มากกว่า 136,000 เฮกตาร์ในการปลูกพันธุ์ข้าวโพดเทคโนโลยีชีวภาพ ในปี พ. ศ. 2559 ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นจากปี พ. ศ. 2517 ถึง 17% นับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการข้าวโพดที่ทนต่อแมลงของสหภาพยุโรป
  • พื้นที่เพาะปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพที่มีลักษณะรวม หรือ แบบ stacked traits คิดเป็น 41% ของพื้นที่โลก ถือเป็นอันดับสอง โดยเป็นรองแค่พื้นที่ปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพที่มีลักษณะ ทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูก 47%
  • พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองเทคโนโลยีชีวภาพคิดเป็น 50% ของพื้นที่ปลูกพืชเทคโนโลยีชีวภาพทั้งหมดทั่วโลก โดยทั้งนี้ เมื่อเจาะจงลงไปในพืชแต่ละชนิด 78% ของถั่วเหลือง 64% ของฝ้าย 26% ของข้าวโพดและ 24% ของกระเจี๊ยบที่ปลูกในโลกมั้งหมด เป็นพันธุ์ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
  • ประเทศที่มีการนำถั่วเหลืองเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้มากกว่า 90% ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา แคนาดาแอฟริกาใต้ และอุรุกวัย เกือบถึงหรือมากกว่า 90% ของการเพาะปลูกข้าวโพดเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นของ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา แคนาดา แอฟริกาใต้ และอุรุกวัย มากกว่า 90% ของการปลูกฝ้ายเทคโนโลยีชีวภาพ 90% เป็นของ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา อินเดีย จีน ปากีสถาน แอฟริกาใต้ เม็กซิโก ออสเตรเลีย และพม่า และ 90% หรือมากกว่าของการเพาะปลูกคาโนลาเทคโนโลยีชีวภาเป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือบทสรุปผู้บริหารของรายงาน โปรดเข้าไปอ่านได้ที่ www.isaaa.org.

เกี่ยวกับ ISAAA:

The International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications (ISAAA) เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรที่มีเครือข่ายระหว่างประเทศ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาความหิวโหย และความยากจน ด้วยการแบ่งปันความรู้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชผล Clive James, ประธานกิตติมศักดิ์และผู้ก่อตั้ง ISAAA ได้ใช้เวลาอยู่อาศัย และทำงานเป็นเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ในประเทศกำลังพัฒนา ในภูมิภาคเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา โดยเขาได้ทุ่มเทความพยายามของเขาในการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โดยมุ่งเน้นด้านพืชเทคโนโลยีชีวภาพ และความมั่นคงด้านอาหารทั่วโล

1 Brookes and Barfoot, 2017, Forthcoming

ดูเวอร์ชั่นต้นฉบับได้ที่ businesswire.com: http://www.businesswire.com/news/home/20170503005134/en/

ติดต่อ ISAAA
Caitlyn Lower, 512-495-7188
caitlyn.lower@fleishman.com