AJC จัดงานประชุม ASEAN Services Trade Forum ในโตเกียวเพื่อหารือเกี่ยวกับความต้องการใหม่ในบริการด้านสุขภาพและสังคมในอาเซียนและโอกาสทางการลงทุนในภูมิภาค

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–05 ธันวาคม 2562

ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น หรือ ASEAN-Japan Centre (AJC) จัดงาน "ASEAN Services Trade Forum ในหัวข้อบริการด้านสุขภาพและสังคม" เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีตัวแทนจากภาคเอกชน หน่วยงานรัฐบาลและวิชาการของญี่ปุ่น รวมถึงผู้แทนจากเก้าประเทศกลุ่มอาเซียนและสถานเอกอัครราชทูตของประเทศกลุ่มอาเซียนในกรุงโตเกียวทั้งหมด 107 คนเข้าร่วม

เอกสารประชาสัมพันธ์นี้มีเนื้อหาในรูปแบบมัลติมีเดีย ดูแบบเต็มรูปแบบได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20191204005993/en/

Government representatives from nine ASEAN countries who participated in the ASEAN Services Trade Forum held in Tokyo. (Photo: Business Wire)

ตัวแทนรัฐบาลจากเก้าประเทศในกุล่มอาเซียนที่เข้าร่วมงาน ASEAN Services Trade Forum ซึ่งจัดขึ้นในโตเกียว (รูปภาพ: Business Wire)

การพัฒนามนุษย์ขึ้นอยู่กับและเป็นตัวกำหนดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม กำลังการผลิตของแรงงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะสุขภาพ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดผลผลิตโดยรวม ความสำคัญของการมีอยู่อย่างยั่งยืน และการทำให้การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสำหรับผู้อยู่อาศัยในอาเซียนเป็นเรื่องง่ายนั้นมีความสำคัญอย่างมาก รัฐบาลในอาเซียนได้กำหนดเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC)1 ภายในปี 2573 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ประเทศญี่ปุ่นได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับประเทศในอาเซียนเพื่อทำให้เป้าหมายนี้ประสบผลสำเร็จ ผ่านโครงการส่งเสริมสุขภาพญี่ปุ่น-อาเซียน (Japan-ASEAN Health Initiative) ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมการดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การป้องกันโรค และการยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพในอาเซียน และโครงการความร่วมมือสากลด้านสุขภาพญี่ปุ่น-อาเซียน (Japan-ASEAN UHC Initiative) โดยมุ่งเน้นไปที่ประชากรผู้สูงอายุ รวมถึงการทำวิจัยร่วมระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน และการมองหาเวทีเพื่อความร่วมมือในอนาคตหรือกลไกที่จะนำไปสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยั่งยืน สำหรับการหารือด้านสุขภาพและพฤฒพลังหรือ active aging

ซึ่งเป็นที่มาให้ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นได้จัดงาน ASEAN Services Trade Forum ขึ้น โดยมุ่งเน้นที่เรื่องสถานะและโอกาสในการลงทุนด้านบริการด้านสุขภาพและสังคมในอาเซียน ซึ่งเป็นเวทีให้กับผู้ให้บริการจากญี่ปุ่นได้พบปะหารือกับตัวแทนของหน่วยงานรัฐบาลจากประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านบริการด้านสุขภาพและสังคม

ในงานดังกล่าว ศาสตราจารย์ Keiichiro Oizumi แห่ง Asia University และ นายอุปลัทธิ์ กอวัฒนสกุล ผู้จัดการโครงการหน่วยวิจัยและวิเคราะห์นโยบายจาก AJC ได้กล่าวอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงสถานะในปัจจุบันและความต้องการใหม่ของบริการด้านสุขภาพและสังคมในอาเซียน โดยคณะอภิปรายซึ่งประกอบด้วยนาย Naoki Nomura ประธานคณะกรรมการ Social Medical Corporation Sanshikai ซึ่งเปิดบริการคลินิกทางการแพทย์ในย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ในปี 2562 รวมถึงนาย Kazumi Nishikawa ผู้อำนวยการกรมอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น และศาสตราจารย์ Kaliappa Kalirajan แห่ง Australia National University ได้นำเสนอวิธีการที่ประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศอาเซียนจะสามารถต่อยอดความเป็นพันธมิตรในการยกระดับบริการด้านสุขภาพและสังคมในอาเซียนได้

ตัวแทนจากประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้ร่วมนำเสนอสรุปภาพรวมเกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพและสังคมในประเทศของตน และอธิบายถึงโอกาสทางการลงทุนของธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น

ภายหลังการประชุม ยังมีการจัดการประชุมทางธุรกิจทั้งหมด 38 งาน ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างตัวแทนรัฐบาลจากกลุ่มประเทศอาเซียนและบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือถึงโอกาสธุรกิจที่มีความเป็นรูปธรรมในประเทศต่าง ๆ

“งานประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้พบปะพูดคุยโดยตรงกับธรุกิจจากประเทศญี่ปุ่น เราจะสานต่อความพยายามในการเชิญชวนให้มีการลงทุนในบริการด้านสุขภาพและสังคมจากประเทศญี่ปุ่นต่อไป” ตัวแทนจากประเทศอาเซียนกล่าวในช่วงท้ายของงาน

AJC เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นในปี 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนอาเซียนกับญี่ปุ่น AJC ได้ทำการวิจัยและวิเคราะห์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนบริการต่าง ๆ ในอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2559 ในปี 2562 AJC ได้ศึกษาเกี่ยวกับบริการด้านสังคมในอาเซียน รวมถึงบริการด้านสุขภาพและสังคมและบริการด้านการศึกษา

1 “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หมายถึง การทำให้ผู้คนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น (ได้แก่ การป้องกัน การส่งเสริม การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการบรรเทาทุกข์) ที่มีคุณภาพเพียงพอได้จริง ไปพร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้บริการเหล่านี้จะไม่ทำให้ผู้ใช้ได้รับความยากลำบากทางการเงิน” (องค์การอนามัยโลก)

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20191204005993/en/

ติดต่อ:

ศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น
Tomoko Miyauchi
โทร +81-3-5402-8118
แฟกซ์ +81-3-5402-8003
อีเมล: toiawase_ga@asean.or.jp
1F, Shin Onarimon Bldg., 6-17-19 Shimbashi,
Minato-ku, Tokyo 105-0004 Japan
URL: https://www.asean.or.jp/en/

The Bangkok Reporter