Western Union ร่วมยกย่อง เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินและผู้ทำงานที่จำเป็นทุกท่านในประเทศไทย

Logo

Western Union มอบส่วนลดค่าธรรมเนียมสำหรับเจ้าหน้าที่ในแนวหน้าและผู้ทำงานที่จำเป็น
ในฐานะส่วนหนึ่งของแนวทางช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องของบริษัทในการให้บริการโอนเงิน
และชำระเงินที่จำเป็นในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19

เดนเวอร์, กรุงเทพมหานคร–(BUSINESS WIRE)–7 พฤษภาคม 2563

Western Union (NYSE: WU) ในฐานะผู้นำบริการโอนเงินและชำระเงินข้ามประเทศและข้ามสกุลเงิน วันนี้บริษัทได้ประกาศมอบส่วนลดค่าธรรมเนียม 50%1  ให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินในแนวหน้าและผู้ทำงานที่จำเป็น ในการส่งเงินไปทั่วโลกผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งหมดของบริษัทในช่วงสองสัปดาห์นับจากนี้ โปรโมชันของบริษัทในครั้งนี้เป็นการร่วมยกย่องลูกค้าผู้มีส่วนทุ่มเทช่วยเหลือชุมชนในท้องถิ่นของตนอย่างไม่หยุดยั้งและมุ่งมั่นที่จะค้ำจุนระบบโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นดำเนินต่อไปได้

มากกว่า 65% ของพลเมืองโลกที่ทำงานและอยู่อาศัยทั่วโลกมีบทบาทหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินหรืออยู่ในอุตสาหกรรมบริการที่จำเป็น ตามข้อมูลทางธุรกิจของ Western Union ประชากรโลกเหล่าที่ทำหน้าที่ในบทบาทดังกล่าวมีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศสำคัญๆ ทั่วโลก 63% ในสหรัฐอเมริกา, 67% ในสหราชอาณาจักร, 68% ในฝรั่งเศส, 70% ในเยอรมนี, 62% ในออสเตรเลีย, 58% ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ 71% ในซาอุดีอาระเบีย

“เมื่อโลกหยุดนิ่ง หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินและผู้ทำงานที่จำเป็นทุกท่านยังคงทำงานต่อไป” Hikmet Ersek ประธานและซีอีโอของ Western Union กล่าว “พวกเขายังคงมาทำงานวันแล้ววันเล่า เพื่อให้ชุมชนและเศรษฐกิจของเรายังคงดำเนินต่อไปได้”

“เจ้าหน้าที่ในแนวหน้าหรือผู้ทำงานที่จำเป็นทั่วโลกจำนวนมากนั้นเป็นพลเมืองโลกที่ใช้บริการส่งเงินไปยังคนที่พวกเขารักที่อยู่ทางบ้าน ที่ Western Union แรงบันดาลใจของเรานั้นมาจากลูกค้าที่ไว้วางใจให้เราจัดการกับเงินที่พวกเขาหามาด้วยความเหนื่อยยาก เราจึงต้องการตอบแทนความทุ่มเทของพวกเขาที่ยังคงส่งเงินอย่างต่อเนื่องไปยังชุมชนและเศรษฐกิจทั่วโลกใบนี้ ซึ่งยังต้องอาศัยพึ่งพาบุคคลเหล่านี้มากที่สุด และเรายังต้องการช่วยสนับสนุนพวกเขาในการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชนรอบๆ ตัวพวกเขาด้วย”

ค่าธรรมเนียมที่ลดลงโดยใช้โค้ด THANKS2020 สามารถใช้กับธุรกรรมใดๆ ที่มีต้นทางดำเนินการในประเทศส่วนใหญ่ที่รองรับระบบดิจิทัลของ Western Union ผ่าน westernunion.com หรือผ่าน แอป Western Union และรับเงินจากที่ใดก็ได้ที่ Global Network ของ Western Union เข้าถึง ทั้งผ่านบัญชีธนาคารหรือผ่านการจ่ายเงินทางกระเป๋าเงินในมากกว่า 100 ประเทศ รวมถึงตัวแทนรายย่อยใน 200 ประเทศและเขตแดน การลดค่าธรรมเนียมจะมีผลตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 และมอบสิทธิ์ให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานทางการแพทย์ ตำรวจ และตำรวจดับเพลิง รวมถึงผู้ทำงานที่จำเป็นในอุตสาหกรรมอาหาร ขนส่ง สาธารณูปโภค และอุตสาหกรรมที่จำเป็นอื่นๆ รวมทั้งการผลิตและการก่อสร้าง

“เรารู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งสำหรับชุมชนของพลเมืองโลกแห่งนี้ที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือประเทศไทย พร้อมกับสนับสนุนและค้ำจุนครอบครัวของพวกเขาในบ้านเกิด” Sohini Rajola หัวหน้าฝ่ายเครือข่าย ภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิกของ Western Union กล่าว

เมื่อเดือนที่แล้ว Western Union ได้ประกาศขยายขอบเขตบริการโอนเงินดิจิทัล ซึ่งนับเป็นสายธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ไปถึงกว่า 75 ประเทศ การครอบคลุมจากต้นทางจนถึงปลายทางนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าบริการดิจิทัลที่ปลอดภัยและสะดวกสบายนี้พร้อมให้บริการผู้ที่ส่งเงินเป็นประจำนับล้านๆ รายทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทางบริษัทยังได้เปิดตัว “Digital Location” ซึ่งเป็นบริการอำนวยความสะดวกผ่านทางโทรศัพท์เพื่อช่วยให้ลูกค้าทำธุรกรรมดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยจากที่บ้านของตน รวมถึงบริการจัดส่งเงินถึงบ้านในบางประเทศอีกด้วย

Western Union และ Western Union Foundation พร้อมพันธมิตรอีกหลายรายได้เรี่ยไรเงินมากกว่าหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำไปช่วยรับมือกับไวรัสโควิด-19 โดยทางมูลนิธิได้มุ่งเน้นไปที่โครงการริเริ่มต่างๆ อาทิ การช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบดูแลสุขภาพทั่วโลก การบริหารกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ อาทิ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ นอกจากนั้นทางมูลนิธิก็จะยังคงให้การสนับสนุนองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่างต่อเนื่องที่มอบการเข้าถึงบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น การบรรเทาความอดอยาก การฝึกอบรมทางการแพทย์ การศึกษา สิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในแนวหน้า

นอกจากนี้แล้วแพลตฟอร์ม WU® NGO GlobalPay ของ Western Union Business Solutions ยังได้ช่วยให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมุ่งเน้นไปที่งานที่สำคัญในขณะนี้ ในการส่งมอบการดำเนินงานในระดับนานาชาติที่จำเป็นเพื่อรองรับชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ นับตั้งแต่ปี 2555 มีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมากกว่า 2,000 รายที่ได้ส่งเงินมูลค่าเกือบ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปทั่วโลกใน 132 สกุลเงินไปยังกว่า 200 ประเทศผ่านแพลตฟอร์มนี้

สามารถดูเกี่ยวกับการดำเนินการและโครงการริเริ่มทั้งหมดของ Western Union ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโควิด-19 ได้จากศูนย์รวมแหล่งข้อมูลโดยเฉพาะของเราที่นี่

WU-G

# # #

เกี่ยวกับ Western Union

Western Union Company (NYSE: WU) คือผู้นำระดับโลกในด้านบริการโอนเงินและชำระเงินข้ามประเทศและข้ามสกุลเงิน แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงทั้งออนไลน์และออฟไลน์ของเราได้เชื่อมต่อโลกดิจิทัลและโลกความเป็นจริงเข้าด้วยกัน และยังช่วยให้ผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ สามารถรับและส่งเงินและชำระเงินได้ด้วยความรวดเร็ว ง่ายดาย และน่าเชื่อถือ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เครือข่ายของเราประกอบด้วยตัวแทนรายย่อยกว่า 550,000 แห่ง ที่มอบบริการภายใต้แบรนด์ของเราในกว่า 200 ประเทศและเขตแดน พร้อมความสามารถในการส่งเงินไปยังบัญชีนับพันๆ ล้านบัญชี  นอกจากนี้ westernunion.com ซึ่งเป็นช่องทางที่เติบโตเร็วที่สุดของเราในปี 2562 ยังพร้อมให้บริการแล้วในกว่า 75 ประเทศและเขตแดนอื่นๆ เพื่อช่วยนำส่งเงินไปทั่วโลก  ด้วยบริการที่ครอบคลุมทั่วโลก Western Union จึงสามารถนำส่งเงินได้ดียิ่งขึ้น พร้อมเชื่อมโยงครอบครัว เพื่อน และธุรกิจเข้าด้วยกัน เพื่อการเข้าถึงบริการทางการเงินที่เปิดกว้างและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าไปที่ www.westernunion.com

ข้อมูลอ้างอิง:

Western Union สร้างรายได้จากการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ

สื่อมวลชน โปรดติดต่อ:

Western Union Global Communications
Pia De Lima; 
Pia.DeLima@westernunion.com 
+1 (954) 260-5732

Western Union อเมริกา
Margaret Fogarty; 
margaret.fogarty@wu.com

Western Union ตะวันออกกลางและแอฟริกา
Mohamed El Khalouki; 
Mohamed.ElKhalouki@wu.com

Western Union เอเชียแปซิฟิก
Karen Santos; 
Karen.Santos2@westernunion.com

กสิกรไทย เตรียมวงเงิน 1 พันล้านบาท เปิดโครงการ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงานเอสเอ็มอี” เพื่อให้เป็นทุนสำหรับว่าจ้างพนักงานกว่า 41,000 คน

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–5 พฤษภาคม 2563

กสิกรไทย ลุยช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง หลังเปิดตัวโครงการ “เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุดจัดตั้งโครงการ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงานเอสเอ็มอี” ช่วยธุรกิจขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน ให้มีเงินทุนในการจ้างพนักงานให้มีรายได้และอยู่รอด ด้วยการสนับสนุนเงินกู้ ดอกเบี้ย 0% ไม่ต้องผ่อน 1 ปี เตรียมวงเงิน 1,000 ล้านบาท คาดมีเอสเอ็มอีเข้าร่วมกว่า 1,000 บริษัท และช่วยพนักงานได้กว่า 41,000 คน

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ (Chairman Emeritus) ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจขนาดเล็กได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เพราะไม่ได้มีเงินทุนสำรองมากพอ เมื่อขาดสภาพคล่องก็จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก ธนาคารจึงได้จัดตั้งโครงการ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงานเอสเอ็มอี”  เป็นเงินกู้สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็กเพื่อให้สามารถจ้างพนักงานต่อไปได้ มีอัตราดอกเบี้ย 0% สิ่งสำคัญของโครงการนี้ คือ การเข้าไปช่วยเหลือพนักงานให้ยังมีงานทำและมีเงินเดือนเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว โดยพนักงานแต่ละคนจะได้เงินคนละ 8,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ธนาคารได้เตรียมวงเงินสินเชื่อสำหรับโครงการนี้ไว้ 1,000 ล้านบาท และทำให้เกิดการจ้างงานพนักงานกว่า 41,000 คนต่อไป ธนาคารยอมสูญเสียรายได้เพื่อให้คนในสังคมส่วนหนึ่งอยู่รอด เพราะการที่ทุกคนจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คนที่มีต้องช่วยคนที่ไม่มี ถ้าทุกคนช่วยกันประเทศไทยก็จะสามารถฝ่าฟันและผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน

โครงการ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงานเอสเอ็มอี” เป็นการเชิญลูกค้าเอสเอ็มอีรายเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีการใช้บริการกับธนาคารมานานหลายปีเข้าร่วมโครงการเท่านั้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจต้องเป็นคนดี เป็นนักสู้ที่พยายามต่อสู้เพื่อนำพาธุรกิจและพนักงานรอดไปด้วยกัน การช่วยเหลือภายใต้โครงการนี้ ธนาคารจะช่วยจ่ายค่าจ้างพนักงานทุกคนให้บางส่วน ธุรกิจต้องดำเนินต่อไปได้ และสามารถดูแลค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในส่วนอื่น ๆ ได้เอง โดยไม่หยุดหรือปิดกิจการ ธนาคารสนับสนุนเงินกู้เพื่อจ้างพนักงาน อัตราดอกเบี้ย 0% ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ไม่ต้องมีหลักประกัน ระยะเวลากู้ 10 ปี และไม่ต้องผ่อนชำระคืนเงินกู้ 1 ปี เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีรายเล็กมีเงินทุนในการจ้างพนักงานให้พวกเขามีรายได้และอยู่รอด โดยวงเงินกู้ของแต่ละบริษัทนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงาน พนักงานแต่ละคนจะได้เงินคนละ 8,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ธนาคารจะมีกระบวนการตรวจสอบได้ว่าเงินได้เข้าบัญชีพนักงานทุกคนจริง ซึ่งธนาคารได้เตรียมวงเงินสินเชื่อสำหรับโครงการนี้ไว้ 1,000 ล้านบาท จะสามารถช่วยธุรกิจทั่วประเทศจำนวนกว่า 1,000 บริษัท ให้มีเงินทุนในการจ้างพนักงานกว่า 41,000 คน 

ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดตัวโครงการ “เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” ซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยร่วมมือกับเจ้าของกิจการในการช่วยเหลือพนักงานที่มีเงินเดือนน้อยให้อยู่รอดได้ โดยมีจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี มีความคืบหน้าในการรักษาการจ้างพนักงานได้กว่า 2,000 คน จากที่ตั้งเป้าไว้ 3,000 คน คิดเป็นเกือบ 70% ของเป้า และธนาคารยังช่วยลดดอกเบี้ยบนเงินกู้เดิมที่ผู้ประกอบการมีกับธนาคาร คิดเป็นมูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

มูลนิธิกสิกรไทย เปิดโครงการ “เบี้ยรบพิเศษสำหรับนักรบเสื้อกาวน์” มอบเงินสนับสนุนรวม 300 ล้านบาท ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–5 พฤษภาคม 2563

มูลนิธิกสิกรไทย มอบเงินสนับสนุนมนุษย์งานที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานด้านสาธารณสุขในช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 จัดตั้งโครงการ “เบี้ยรบพิเศษสำหรับนักรบเสื้อกาวน์” นำร่องในโรงพยาบาลรัฐ จำนวน 45 แห่ง ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีอัตราการแพร่ระบาดสูง มีบุคลากรรวม 5,083 คน โดยแต่ละคนจะได้รับเงินรายเดือนๆ ละ 4,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยคาดว่าตลอดทั้งโครงการสามารถมอบเงินช่วยเหลือได้รวมกว่า 20,000 คน  ด้วยงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ทุ่มเทและเสียสละแม้ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยง  

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ (Chairman Emeritus) ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการ มูลนิธิกสิกรไทย กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสาธารณสุข เป็นกำลังหลักสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำหน้าที่ดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาด้วยหัวใจที่ทุ่มเทและเสียสละ นอกจากเสี่ยงกับการติดเชื้อแล้ว โรงพยาบาลบางแห่งยังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอีกด้วย ในขณะที่ต้องดูแลประชาชน ทุกท่านต่างก็มีภาระที่ต้องดูแลตนเองและครอบครัวให้อยู่รอดและปลอดภัยเช่นกัน มูลนิธิกสิกรไทยจึงมอบเงินสนับสนุนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับนักรบเสื้อกาวน์รวม 20,000 คน คนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 300 ล้านบาท เพื่อจะได้นำเงินไปใช้จ่ายตามความจำเป็น โดยมูลนิธิกสิกรไทยจะมีกระบวนการจ่ายเงินเพื่อให้มั่นใจว่าเงินดังกล่าวถึงมือนักรบเสื้อกาวน์ได้อย่างทั่วถึง

โครงการ “เบี้ยรบพิเศษสำหรับนักรบเสื้อกาวน์” เป็นโครงการที่ดำเนินการโดย มูลนิธิกสิกรไทยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้รวบรวมรายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าข่ายตามเกณฑ์จำนวน 45 แห่ง ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงแล้วยังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ได้แก่ จังหวัด สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล มีบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 5,083 คน ทั้งหมดเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานตั้งแต่มีการแพร่ระบาด และมีหน้าที่ในงานที่ได้สัมผัสเชื้อและดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขจนถึงวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา

กสิกรไทย ธนาคารแห่งแรกในไทยที่ได้ใบอนุญาตให้บริการจัดทำและนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–27 เมษายน 2563

imgกสิกรไทย ธนาคารแห่งแรกของไทย ที่ได้ใบอนุญาตให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนลูกค้า (Service Provider) จาก กรมสรรพากร ช่วยผู้ประกอบการจัดการด้านการเงินอย่างครบวงจร ตั้งแต่รับจ่ายเงินไปจนถึงบริหารจัดการภาษี สร้างมิติใหม่ให้ผู้ประกอบการ ออกใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว และลดการออกเอกสารในรูปแบบกระดาษ

นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และกรมสรรพากร พัฒนาระบบการชำระเงินของไทยให้สามารถรองรับธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิสก์ (e-Payment) อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการพัฒนาระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Receipt) ให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมสรรพากร

ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารแห่งแรกของไทย ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพากร ให้เป็นผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนลูกค้า (Service Provider) สำหรับระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Receipt) จากผู้ประกอบการและองค์กรต่าง ๆ ผ่านระบบของกรมสรรพากรอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การรับจ่ายเงินไปจนถึงการบริหารจัดการภาษี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานกรมสรรพากรได้อย่างรวดเร็ว

นายศีลวัต กล่าวเพิ่มเติมว่า นับเป็นมิติใหม่ของระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดปัญหาและความยุ่งยากในการจัดการข้อมูลหรือเอกสารที่เคยเป็นกระดาษ ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนําข้อมูลไปใช้ในการประมวลผลในระบบสารสนเทศเพื่อประโยชน์ขององค์กร ทำให้มีความน่าเชื่อถือและผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

           

สมาคมธนาคารไทย ชี้ผลกระทบโควิด-19 อาจสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เชื่อมาตรการรัฐช่วยลดผลกระทบ จำกัดการหดตัวทางเศรษฐกิจ

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–14 เมษายน 2563

imgสมาคมธนาคารไทย มองมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐมาเร็ว จัดใหญ่ จัดเต็ม เป็นยาดีช่วยลดผลกระทบวิกฤตโควิด-19 ชี้เร่งช่วยด้านสาธารณสุข อาชีพและปากท้อง เสถียรภาพเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน หากสถานการณ์สงบเร็วกระทบจีดีพี 7.7% หากยืดเยื้อความเสียหายอาจรุนแรงขึ้น

นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และสถาบันการเงิน ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs และดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้เอกชน เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด (พรก.) ให้อำนาจ ธปท.ออกซอฟท์โลน (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจ พรก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ตลอดจน พรก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งรวมแล้วคือ มาตรการเยียวยาระยะที่ 3 ที่มีวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้น ถือว่ามีทั้ง ‘ความสำคัญ’ และ ‘ความจำเป็นอย่างยิ่ง’ ทั้งนี้ หากมองผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัสฯ ในรอบนี้ สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพี โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท อันทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการระบาดไม่สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ อันจะทำให้ผลกระทบในเชิงตัวเงินใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

อย่างไรก็ตามจุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิกฤตการระบาดของเชื้อโควิด-19 กับวิกฤตปี 2540 คือ ในรอบนี้ ทางการไทยออกมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ ‘เร็ว’ และมี ‘ขนาดใหญ่’ เพื่อยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ทรุดลงแรงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่ต้องจัดการเป็นลำดับแรกๆ คือ การจัดการด้านสาธารณะสุขเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคและดูแลผู้ป่วยในวงที่กว้างขึ้น รวมถึงการดูแลเรื่องอาชีพและปากท้องของประชาชน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ มาตรการด้านการคลังจะเข้ามาเป็นกลไกหลัก ทำให้การอนุมัติ พรก.กู้เงินฯ เพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ต้องเร่งทำ เพื่อดึงงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มาเป็นทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น หลังจากที่งบกลางเดิมได้จัดสรรไปหมดแล้ว

ในอีกด้านหนึ่ง การดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจตลาดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะปัจจุบันตลาดการเงินไทยเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปี 2540 มาก ทำให้ความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะจากทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถฉุดให้อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดการเงินปรับตัวแรง จนกระทบความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนสถานะทางการเงินลูกค้าธุรกิจและครัวเรือนได้ โดยการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและตลาดการเงินนี้ ถือเป็นหน้าที่ของมาตรการด้านการเงิน ซึ่งควรเร่งอุดรูรั่วและเร่งสร้างความเชื่อมั่นของตลาดก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้น มาตรการ 9 แสนล้านบาทในรอบนี้ จึงจำเป็นต้องพุ่งเป้าหมายไปที่การจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มีขนาดใหญ่ราว 22% ของจีดีพี ซึ่งจะช่วยทั้งตัวกิจการที่ต้องการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เดิมและเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมถึงช่วยผู้ลงทุนสถาบันและรายย่อย ซึ่งต้องยอมรับว่าในระยะหลัง ผู้ฝากเงินรายย่อยหันมาออมเงินทั้งทางตรงและทางอ้อมในตราสารหนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ยังประกอบด้วยมาตรการช่วยภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่ครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนกิจการทั้งหมด และการจ้างงานกว่า 85% ของการจ้างงานทั้งประเทศ หรือกว่า 13 ล้านคน ผ่านการให้ซอฟท์โลนเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแบบอัตโนมัติ ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็คาดหวังว่าการต่อลมหายใจทางธุรกิจ จะช่วยพยุงจ้างงานและกลไกของห่วงโซ่ธุรกิจบางส่วนให้พอเดินต่อไปได้ ในระหว่างที่ทุกคนรวมพลังอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ

“ผมเชื่อมั่นว่า การดำเนินการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ น่าจะทำให้การหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่น่าจะลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในที่สุดแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ จะยังคงขึ้นอยู่กับว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่า หากมีความจำเป็น ทางการไทยยังมีทรัพยากรอีกมากเพียงพอที่จะประคับประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน” นายปรีดี กล่าวในตอนท้าย

swIDch: ทำไมบัตรที่ไม่มีเลขจึงไม่เพียงพอสำหรับป้องกันการฉ้อโกงในการชำระเงิน

Logo

ลอนดอน–(BUSINESS WIRE)–14 เมษายน 2563

swIDch สตาร์ทอัพด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากสหราชอาณาจักร ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีทางเลือกที่จะเอาชนะข้อจำกัดเรื่องบัตรที่ไม่มีเลขบนบัตร (numberless card) โดยการใช้หมายเลขบัญชีหลักของบัตร (PAN) ที่ไม่ซ้ำเดิม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยใหม่ในกระบวนการชำระเงิน

A UK cybersecurity startup, swIDch, announced an alternative technology to overcome the limitations of numberless cards by using its Dynamic Virtual PAN (primary account number) technology, thereby creating a new security environment in the payment process. This patented technology is a complete API-driven, CNP security solution that replaces static with dynamic PANs as well as eliminating access points for hackers. (Graphic: Business Wire)

swIDch สตาร์ทอัพด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากสหราชอาณาจักร ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีทางเลือกที่จะเอาชนะข้อจำกัดเรื่องบัตรที่ไม่มีเลขบนบัตรโดยการใช้หมายเลขบัญชีหลักของบัตร (PAN) ที่ไม่ซ้ำเดิม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยใหม่ในกระบวนการชำระเงิน เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้วนี้เป็นโซลูชันความปลอดภัยสำหรับบัตรที่ไม่มีการแสดงตน (CNP) ที่รองรับการเชื่อมต่อ API อย่างเต็มรูปแบบ โดยจะแทนที่หมายเลขบัญชีหลักของบัตรที่เป็นหมายเลขเดียวตลอดให้เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน รวมถึงลดจุดที่แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ (กราฟิก: Business Wire)

การนำตัวเลขออกจากบัตรชำระเงินเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในกรณีที่ลูกค้าทำบัตรหาย อย่างไรก็ตาม แฮกเกอร์ยังสามารถหาประโยชน์จากจุดอ่อนนี้ได้ผ่านการชำระเงินออนไลน์

บัตรที่ไม่มีเลขบนบัตรกลายเป็นเทรนด์ใหม่ด้านการเงินพร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-wallet และบัตรเครดิตของ Apple บริการ GrabPay ในเอเชีย และธุรกิจฟินเทคในยุโรปหลายเจ้ามีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีข้อดีคล้ายกันนี้ จุดประสงค์ของบัตรที่ไม่มีตัวเลขคือการเพิ่มความปลอดภัย วิธีนี้เป็นการลดความเสี่ยงการสูญเสียของข้อมูลส่วนตัวในกรณีที่บัตรตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงการชำระเงินทางออนไลน์แล้ว ข้อมูลการเข้าสู่ระบบของลูกค้าก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเป้าของการฉ้อโกงด้วยบัตรที่ไม่มีการแสดงตน (CNP) ด้วยเช่นกัน นั่นเป็นเพราะว่าข้อมูลบัตรของลูกค้าเป็นข้อมูลเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับการชำระเงินออนไลน์ ลูกค้ามักจำเป็นต้องกรอกข้อมูลบัตรของตน แต่สำหรับผู้ที่ใช้บัตรที่ไม่มีเลขบนบัตร พวกขาสามารถดูหมายเลขบัตรได้จากแอปพลิเคชันของผู้ออกบัตร แต่ระหว่างกระบวนการนี้ แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงหมายเลข PAN ที่เป็นหมายเลขเดิมได้ และเจ้าของบัตรจะตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงด้วยบัตรที่ไม่มีการแสดงตัวตน ผลเสียอีกอย่างจากการใช้หมายเลข PAN ที่ไม่มีการเปลี่ยนเลย คือ การโจมตีรหัส BIN ที่เป็นหมายเลขระบุตัวตนของธนาคาร ซึ่งทำให้อาชญากรทางไซเบอร์รู้รหัส BIN และสร้างหมายเลขบัตรที่สามารถใช้ได้จริงขึ้นมาได้อย่างเป็นระบบ

เพื่อป้องกันการฉ้อโกงด้วยบัตรที่ไม่มีการแสดงตน ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้นำเทคโนโลยีเปลี่ยนหมายเลขให้เป็นรหัสโทเค็น (tokenization) มาใช้แทนที่ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสำหรับการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม มีผู้ค้าออนไลน์เพียง 35% เท่านั้นที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ทำให้ที่เหลือมีความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงด้วยบัตรที่ไม่มีการแสดงตน

ขณะที่ธนาคารบางแห่งหาทางออกด้วยการออกบัตรเสมือนจริงแบบใช้ครั้งเดียว แต่บริการนี้มีต้นทุนที่สูงมาก แล้วถ้าลูกค้าสามารถสร้างบัตรเสมือนจริงที่มีรหัสไม่ซ้ำได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์แต่ละครั้งเพื่อลดต้นทุนให้กับธนาคารได้ละ

swIDch ได้เปิดตัวเทคโนโลยี Dynamic Virtual PAN สำหรับธุรกิจ ซึ่งเป็นโซลูชันสำหรับบัตรที่ไม่มีเลข เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้วนี้เป็นโซลูชันความปลอดภัยสำหรับบัตรที่ไม่มีการแสดงตน (CNP) ที่รองรับการเชื่อมต่อ API อย่างเต็มรูปแบบ โดยจะแทนที่หมายเลขบัญชีหลักของบัตรที่เป็นหมายเลขเดียวตลอดให้เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน รวมถึงลดจุดที่แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

นอกจากนี้ swIDch ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาบัตรดิจิทัลดิสเพลย์ที่จะต้องใช้ข้อมูลไบโอเมตริกในการเข้าใช้ โดยบัตรนี้จะแสดงหมายเลขบัตรที่ไม่ซ้ำกันในการพิสูจน์ตัวตน บัตรนี้ไม่มีแบตเตอรี่แต่จะใช้ระบบเก็บเกี่ยวพลังงานเพื่อดึงพลังงานจากอุปกรณ์ NFC แทน บริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวบัตรดิจิทัลใหม่นี้ในเดือนมิถุนายน ปี 2563 พร้อมกับการประกาศความร่วมมือกับผู้ผลิตบัตร

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/52201949/en

ติดต่อ:

swIDch Ltd.
Su Hyun Luquet
+44-7951-409-765
info@swidch.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

กสิกรไทยนำร่อง ลดดอกกู้ทั้ง MLR, MOR และ MRR 0.40% สนองมาตรการภาครัฐทันที มีผล 10 เม.ย.นี้

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–9 เมษายน 2563

imgนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยพร้อมสนับสนุนกลไกภาครัฐเพื่อช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR, MOR และ MRR ทันทีอีก 0.40% หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปแล้ว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 5.60% MOR และ MRR ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 6.22% และ 6.10% ตามลำดับ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรการอื่น ๆ ที่ธนาคารได้มีการประกาศใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือและลดภาระดอกเบี้ยให้กับลูกค้าของธนาคารอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการช่วยดูแล และประคับประคองลูกค้าของธนาคารให้ผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตไปได้

ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ธนาคารปรับลดเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเท่านั้น ยังไม่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงแต่อย่างใด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

Bityard เปิดตัวแล้ว! ลงทะเบียนตอนนี้เพื่อรับ 258 USDT ฟรี!

Logo

สิงคโปร์–(THAI BUSINESS NEWS)–8 เมษายน 2563

Bityard แพลตฟอร์มการซื้อขายสัญญาดิจิทัลชั้นนำของโลกได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในอุตสาหกรรมเผยว่า Bityard ได้รับเงินทุนจากกองทุนสหรัฐมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์เพื่อเป็นผู้นำอุตสาหกรรมสำหรับสัญญาที่ซับซ้อนและการทำธุรกรรมที่เรียบง่าย  ที่ Bityard วิสัยทัศน์ของเราคือการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการคาดการณ์ล่วงหน้า การขยายไปยังตลาดต่างประเทศ และการสร้างระบบนิเวศภายใต้ชื่อแบรนด์ของเรา

Bityard ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 และมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ โดยเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายสัญญาสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำของโลกซึ่งกำกับโดยหน่วยงานสำหรับธุรกิจบริการทางการเงินของสหรัฐอเมริกา (American Money Services Businesses)  หน่วยงานด้านการบัญชีและการกำกับดูแลองค์กรของสิงคโปร์ (Singaporean Accounting and Corporate Regulatory Authority – ACRA) และหน่วยงานกำกับ MTR ของเอสโตเนียสำหรับสหภาพยุโรป  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Bityard มุ่งสนองความต้องการด้านตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในท้องที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มบล็อคเชนที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐ  Bityard ไม่เพียงแต่จะดึงดูดความสนใจด้วยบริการธุรกรรมดิจิทัลที่ปลอดภัย เรียบง่าย และรวดเร็วแล้ว แต่เรายังได้มีแชมป์มวยไทยในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ Bityard  โดยแชมป์มวยท่านนี้จะเดินหน้าเพื่อสร้างความสนใจในประเทศบ้านเกิดของเขาและอื่นๆ

ในช่วงปีที่มีความไม่แน่นอน ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีก็จะยิ่งผันผวนมากตาม  ในขณะที่ทุกคนยังถกกันเรื่องการลดรางวัลบล็อกครึ่งนึงเป็นครั้งที่สามของ Bitcoin เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้นโดยมีความกลัวไวรัสโคโรนาเป็นตัวผลักดัน โดยราคาของคริปโทเคอร์เรนซีต่างๆ ได้ลดลงครึ่งหนึ่ง ตามด้วยการรีบาวด์ราคาอย่างรวดเร็วจากจุดต่ำสุดมากกว่า 60%  การซื้อสัญญาย่อมจะเป็นสนามรบหลักที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในปีนี้  ในฐานะผู้เข้าตลาดรายใหม่ผู้ก่อตั้ง Bityard ทราบดีว่าการได้มาซึ่งตำแหน่งที่แข็งแกร่งในตลาดสัญญาที่มีการแข่งขันสูงนั้นจำเป็นต้องประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม

imgชุมชนที่มีศักยภาพซ่อนเร้น: ผู้ที่รอคอย ธุรกรรมที่เรียบง่าย

การวิจัยจำนวนมากพบว่าในตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้มีกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพสูงเกิดขึ้น  ผู้บริโภคเหล่านี้เห็นด้วยกับแนวคิดของการซื้อขายสัญญาและคาดว่าจะใช้เลเวอเรจในการขยายผลกำไร  อย่างไรก็ตามสัญญาเหล่านี้ยังมีความซับซ้อน  เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยกเลิกสัญญา ผู้ใช้ดังกล่าวลังเลที่จะใช้สัญญาเหล่านี้  Bityard ได้ก่อตั้งขึ้นเพราะเห็นศักยภาพของผู้ใช้จำนวนมากในชุมชนคริปโทเคอร์เรนซีที่ต้องการธุรกรรมที่เรียบง่ายและอนุพันธ์ต่างๆ 

แนวคิดผลิตภัณฑ์: สัญญาที่ซับซ้อนด้วยธุรกรรมที่เรียบง่าย

Bityard ยึดมั่นในแนวคิดผลิตภัณฑ์ "สัญญาที่ซับซ้อนด้วยธุรกรรมที่เรียบง่าย" และมุ่งสร้างประสบการณ์การทำงานที่เรียบง่ายที่สุดให้แก่ลูกค้า  จากการสัมภาษณ์กับฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ผู้สื่อข่าวต่างๆ ได้ทราบว่าทางทีมงานได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ผู้ใช้เปิดใช้งานได้อย่างรวดเร็ว  การเปิดบัญชีนั้นง่ายดาย: คุณเพียงแค่ลงทะเบียนด้วยอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้นและคุณสามารถเป็นผู้ใช้ Bityard ได้ภายใน 30 วินาที  การเติมเงินที่เรียบง่าย: ปัจจุบัน bityard รองรับการใช้สกุลเงินดิจิทัล 6 สกุลเงินเป็นวิธีการเติมบัญชีของผู้ใช้  นอกจากนี้ยังสนับสนุนสกุลเงินเหรินหมินปี้ของจีนและเงินดองของเวียดนาม โดยมีแผนจะเพิ่มสกุลเงินอื่นในอนาคต  นอกจากนี้ยังมีระบบให้โอนเงินระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งอำนวยความสะดวกโดยตัวแทน  การซื้อขายอย่างง่าย: การลดความซับซ้อนของฟังก์ชั่นการซื้อขาย  ผู้ใช้สามารถซื้อขายได้ตั้งแต่ 5 USDT  เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ Bityard ได้ประกาศเปิดตัวกิจกรรมการขุดเหรียญรายวัน  โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ หลังจากการลงทะเบียนผู้ใช้แต่ละครั้ง คุณสามารถรับ Bitcoin, Ethereum, EOS, Tron และสกุลเงินดิจิทัลที่สำคัญอื่นๆ ได้ฟรีในมูลค่าถึง 258 USDT  นอกจากนี้คุณยังสามารถรับสกุลเงินแพลตฟอร์มแรก BYD ของ Bityard ได้  หลังจากที่ได้จดทะเบียน BYD จะได้รับการยอมรับอย่างดี!

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลงทะเบียนบัญชีที่ bityard ได้แล้ววันนี้! เยี่ยมชม www.bityard.com เพื่อลงทะเบียนเพื่อรับประสบการณ์และสิทธิประโยชน์ของคุณ!

กสิกรไทยธนาคารสัญชาติไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ร่วมรับใน “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” (UN Principles for Responsible Banking)

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–31 มีนาคม 2563

ธนาคารกสิกรไทยตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนธุรกิจบนรากฐานของการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน เข้าร่วมลงนามรับใน “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” ของสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน หรือ UNEP FI เป็นธนาคารสัญชาติไทยแห่งแรกและแห่งเดียวในธนาคารกว่า 170 แห่งทั่วโลกที่เข้าร่วมในหลักการดังกล่าว เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของธนาคารตามมาตรฐานสากล และกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติและข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

imgนายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยดำเนินธุรกิจบนรากฐานของการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงและการบริหารจัดการต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อสร้างความสมดุลทั้ง 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสร้างความยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ   

ธนาคารตระหนักถึงบทบาทสำคัญในการเป็นสื่อกลางด้านการเงินให้คนในสังคม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ลูกค้าและธนาคารเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อประกาศเจตนารมย์ถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการขับเคลื่อนธุรกิจในทิศทางดังกล่าวและพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล ธนาคารกสิกรไทยจึงได้ตอบรับเข้าร่วมใน “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” (UN Principles for Responsible Banking) ของสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน (United Nations Environmental Program Finance Initiative) หรือ UNEP FI  นับเป็นธนาคารสัญชาติไทยแห่งแรกและแห่งเดียวในธนาคารกว่า 170 แห่งทั่วโลกที่เข้าร่วมในหลักการดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ได้แก่

  1. Alignment: การมียุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) Paris Agreement และหลักการที่เกี่ยวข้อง
  2. Impact & Target Setting: การกำหนดและเผยแพร่เป้าหมายที่ธนาคารสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
  3. Clients & Customers: การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างรับผิดชอบและผลักดันให้เกิดแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน
  4. Stakeholders: การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
  5. Governance & Culture: การกำกับดูแลและวัฒนธรรมองค์กรสอดคล้องกับหลักการธนาคารที่รับผิดชอบ
  6. Transparency & Accountability: การทบทวนและเปิดเผยข้อมูลตามหลักการธนาคารที่รับผิดชอบ

ธนาคารกสิกรไทยได้กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และกระบวนการให้สินเชื่อที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Credit Policy) อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดประเภทสินเชื่อที่ธนาคารจะไม่สนับสนุน (Exclusion List) และกำหนดแนวปฏิบัติในการพิจารณาสินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ (Sector-Specific Guideline) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกโครงการที่ธนาคารสนับสนุนจะได้รับการจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยเสริมสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อประเภท Project Finance ทุกโครงการต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาเครดิต ESG ทั้งหมด 100% และภายใต้ “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” นี้ จะช่วยให้ธนาคารพัฒนาตามมาตรฐานสากล

นายบัณฑูร กล่าวตอนท้ายว่า ปรัชญาของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ถูกปลูกฝังลงไปในดีเอ็นเอของพนักงานทุกคนเป็นกรีน ดีเอ็นเอที่ซึมซับอยู่ในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ เพื่ออำนวยประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความหมายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมุ่งประสานความร่วมมือเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถส่งต่อโลกที่สะอาดไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง  ซึ่งธนาคารตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมุ่งสู่การเป็นสังคมที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในระยะยาว


ทุกธนาคารผนึกกำลัง เตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ เพื่อช่วยลูกค้าทุกรายพ้นวิกฤตไปด้วยกัน

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–23 มีนาคม 2563

imgสมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือและสนับสนุนลูกค้าด้านการเงิน หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องมาตรการช่วยเหลือลูกค้าและวางแผนเตรียมความพร้อมรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เพื่อให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปสามารถทำธุรกรรมได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมเตรียมเงินสดเพียงพอในทุกช่องทาง แนะใช้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 และให้การช่วยเหลือลูกค้าบุคคลและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบผ่านมาตรการช่วยเหลือของแต่ละธนาคาร และล่าสุดเพิ่มความช่วยเหลือภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้ประกอบการ วงเงินรวม 150,000 ล้านบาท 

นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 จนทำให้ต้องมีการประกาศปิดสถานบริการและร้านค้าบางประเภทไปแล้ว ตามประกาศล่าสุดของกรุงเทพมหานคร  ทางสมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกทุกธนาคารได้มีการวางแผนการให้บริการที่ต่อเนื่องเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และขอให้ความมั่นใจว่าธนาคารจะสามารถให้บริการลูกค้าและผู้มาใช้บริการของธนาคารตามปกติในทุกช่องทาง โดยเฉพาะบริการหลัก เช่น การรับฝากเงิน การถอนเงิน การโอนเงิน และบริการสินเชื่อต่าง ๆ รวมถึงการช่วยเหลือลูกค้าเพื่อเสริมสภาพคล่อง

ในส่วนของการให้บริการเงินสดสำหรับลูกค้าที่มีความจำป็นต้องใช้เงินสด ทุกธนาคารมีการเตรียมเงินสดเพื่อรองรับให้เพียงพอทุกช่องทางทั้งสาขาและตู้เอทีเอ็ม แต่ในสถานการณ์เช่นนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 อยากเชิญชวนให้ลูกค้าใช้บริการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านโมบายแบงกิงและอินเทอร์เน็ตแบงกิงของทุกธนาคาร ซึ่งทุกธนาคารได้มีการดูแลให้ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมที่จะเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนดูแลธุรกรรมตลาดเงินให้ดำเนินการได้อย่างราบรื่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริการทางการเงินหลักของประเทศจะดำเนินต่อไปได้แม้ในกรณีที่สถานการณ์การระบาดรุนแรงมากขึ้น

สำหรับลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ ธนาคารต่าง ๆ ได้มีมาตรการช่วยเหลือที่ทยอยให้ความช่วยเหลือลูกค้าไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เช่น การให้ลูกค้าผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยโดยยังไม่ต้องชำระเงินต้น หรือการปรับลดการชำระขั้นต่ำในแต่ละเดือน ซึ่งธนาคารต่าง ๆ อยู่ระหว่างการติดต่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้า แต่หากลูกค้าประสบปัญหาและยังไม่ได้รับการติดต่อจากธนาคาร ท่านสามารถติดต่อธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่เพื่อขอรับความช่วยเหลือได้ทันที ด้านการช่วยเหลือลูกค้าของสถาบันการเงิน พบว่าช่วงที่ผ่านมาธนาคารทั้งระบบได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้แล้วประมาณ 30,000 ราย เป็นมูลค่า 234,000 ล้านบาท ซึ่งมีทั้งการพักชำระเงินต้น ลดอัตราดอกเบี้ย ปรับระยะเวลาการผ่อนชำระให้ยาวขึ้น เพื่อลดภาระให้กับลูกค้า

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 ธนาคารออมสินและ 17 สถาบันการเงิน ได้มีการลงนาม MOU โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระ 2 ปี ผู้ประกอบการที่ต้องการวงเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและฟื้นฟูธุรกิจสามารถติดต่อขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ โดยจะได้รับเงินข่วงต้นเดือนเมษายนเป็นต้นไป

นายปรีดี ดาวฉาย กล่าวทิ้งท้ายว่า สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารทุกรายให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เรามีการประเมินสถานการณ์และปรับแผนการช่วยเหลือและสนับสนุนลูกค้าในด้านการเงินตลอดเวลา ดังนั้นจึงขอให้ลูกค้าทุกคนมั่นใจได้ สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทุกรายและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่าน Call Center ของทุกธนาคารได้ทันที 

The Bangkok Reporter