ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น กล่าวว่ามีการค้นพบศักยภาพการส่งออกของกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในอาเซียนโดยใช้รูปแบบใหม่ของการค้า

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)– 10 เมษายน 2562

การผลิตเพื่อการขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยไม่ถือหุ้นโดยตรง หรือ non-equity modes  (NEMs) กำลังเพิ่มขึ้นทั้งในสปป. ลาวและพม่า ซึ่งถูกสะท้อนให้เห็นจากการใช้การค้ารูปแบบใหม่นี้เป็นวิธีการส่งออกของทั้งสองประเทศ  มีการประมาณการว่าสปป. ลาวมีมูลค่าส่งออกเป็นจำนวน 274 ล้านเหรียญสหรัฐในเครื่องจักรไฟฟ้า และอีก 132 ล้านเหรียญสหรัฐในเครื่องนุ่งห่ม ส่วนที่พม่ามีการประมาณมูลค่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมากกว่าร้อยละ 70 ของการส่งออกเครื่องนุ่งห่มจากพม่าทั้งหมดมาจากวิธี NEM ทั้งนี้ข้อมูลได้จากการอ้างอิงรายงานใหม่ของศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น ที่เกี่ยวกับ  NEMs ชื่อว่า (การขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Lao People’s Democratic Republic; และการขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน: พม่า หรือ Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Myanmar)

รายงานได้ถูกเผยแพร่ในวันนี้ในเวลาเดียวกัน [https://www.asean.or.jp/en/trade-info/nem_papers/])

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีคุณสมบัติเป็นมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20200409005886/en/

"Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Lao People’s Democratic Republic" and "Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Myanmar" are downloadable from the AJC Website. (Graphic: Business Wire)

สามารถดาวน์โหลดรายงานการขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Lao People’s Democratic Republic; และรายงานการขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยไม่ถือหุ้นโดยตรงในอาเซียน: พม่า หรือ Non-Equity Modes of Trade in ASEAN: Myanmar ได้ที่เว็บไซต์ของ AJC (กราฟิก: Business Wire)

บริษัทของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการใช้วิธี NEMs โดยใช้การรับเหมาช่วง การใช้สัญญาการจัดการและแฟรนไชส์ เป็นต้น

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งออกและการจ้างงานในธุรกิจ NEM มากที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการรับเหมาช่วง โดยทั่วไปโรงแรมนานาชาติจะดำเนินการในประเทศเหล่านี้ผ่านสัญญาการจัดการหรือข้อตกลงแฟรนไชส์

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับกระบวนการจ้างจากภายนอก หรือ The information technology-business process outsourcing (IT-BPO) เป็นอุตสาหกรรมใหม่และมีศักยภาพในการเติบโตเป็นอย่างมาก และเนื่องจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูง รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเครือข่ายการสื่อสารเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต

ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด หรือ  least developed countries (LDCs) เหล่านี้ ควรใช้ประโยชน์จากโอกาสที่บรรษัทข้ามชาติ หรือ transnational corporations (TNCs) เสนอให้ เมื่อได้รับข้อเสนอเอาท์ซอร์สให้เป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าหรือบริการหรือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตไปยังประเทศนั้น ๆ

บริษัทด้าน NEM กำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ เพราะ บรรษัทข้ามชาติ หรือ TNCs สามารถยกเลิกสัญญาได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณภาพของบริการหรือสินค้าที่จัดหาไม่ตรงตามมาตรฐานของพวกเขา หรือเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของซัพพลายเออร์ที่เป็นคู่แข่งรายอื่นที่มาจากประเทศอื่น ๆ

รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาขีดความสามารถด้าน NEM เพื่อให้บริษัทในท้องถิ่นสามารถใช้ประโยชน์จากการผนึกกำลังทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยบรรษัทข้ามชาติอย่างเหมาะสม เนื่องจากการแข่งขันที่สูงบีบบังคับให้บรรษัทข้ามชาติต้องทำการปรับคุณภาพและราคาของซัพพลายเออร์อย่างต่อเนื่อง

นอกเหนือจากการยกระดับแรงงานและปรับปรุงสภาพการลงทุนแล้ว รัฐบาลควรสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไป และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาเช่นนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบริษัท NEM ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อและประสานงานกับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกได้อย่างทันการแข่งขันตลาด และเพื่ออัพเกรดบริษัทของพวกเขาอีกด้วย

รัฐบาลของทั้งสองประเทศควรพิจารณาดำเนินการและเสริมสร้างกรอบการกำกับดูแลสำหรับบริษัท NEM ต่าง ๆ เพื่อให้บริษัท NEM เหล่านี้สามารถส่งออก ขยายการจ้างงาน และอัพเกรดเทคโนโลยีของตนเองได้

ดูเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200409005886/en/

ติดต่อ:

ASEAN-Japan Centre

Tomoko Miyauchi

เว็บไซต์: www.asean.or.jp/en/

อีเมล: toiawase_ga@asean.or.jp

The Bangkok Reporter