เพียงสองในสามของมูลค่าการส่งออกของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากอาเซียนสร้างจีดีพีให้กับประเทศของตน ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นเผย

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–31 มีนาคม 2563

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม1 เป็นอุตสาหกรรมแม่แบบซึ่งช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนประสบความสำเร็จในการก้าวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมและการรวมเข้ากับเศรษฐกิจโลก อ้างอิงจากรายงานหัวข้อ ห่วงโซ่มูลค่าโลกในอาเซียน: สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (https://www.asean.or.jp/en/centre-wide-info/gvc_database_paper14/) ที่เผยแพร่โดยศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น

เอกสารประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยเนื้อหามัลติมีเดีย ดูอย่างเต็มรูปแบบที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20200331005288/en/

"Global Value Chains in ASEAN: Textiles and Clothing" issued by AJC (Graphic: Business Wire)

"ห่วงโซ่มูลค่าโลกในอาเซียน: สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม" ตีพิมพ์โดยศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (กราฟิก: Business Wire)

การตระหนักถึงตัวแปรภายในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีความสำคัญในแง่ของคุณลักษณะเชิงเทคโนโลยีและความเข้มข้นของการใช้ปัจจัยการผลิตเป็นเรื่องที่จำเป็น สำหรับอาเซียน เครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่คึกคักมากที่สุด ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สร้างการจ้างงานจำนวนมหาศาล กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมา และเวียดนามเป็นผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ของโลก ในทางตรงข้าม สิ่งทอมีบทบาทที่รองลงมาในโครงสร้างการส่งออกโดยรวม เป็นเพราะเทคโนโลยีและความเข้มข้นของการใช้ทุนของอุตสาหกรรมนี้

ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีรายได้น้อยกว่ามีแนวโน้มที่จะมีความเชี่ยวชาญทางด้านกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงานมาก เช่น การตัดเย็บ การผลิต และการตกแต่ง ในทางตรงข้าม กระบวนการที่ต้องใช้ความรู้ เช่น การออกแบบและการตลาดได้รับความสนใจในภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่า

ในปี 2560 มูลค่าเพิ่มที่สร้างขึ้นในประเทศจากการส่งออกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง (TCL) ในอาเซียนอยู่ที่ราว 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และกลายเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพีของอาเซียน ขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นมูลค่าเพิ่มที่สร้างขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 32

การยกระดับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทหลัก (ผู้ซื้อ) ในห่วงโซ่มูลค่าโลก อย่างไรก็ตาม การยกระดับไปสู่กิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นสามารถทำได้ผ่านตลาดในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค

ความล้มเหลวในการตระหนักถึงการยกระดับไปสู่กิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้องค์กรในอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการนำกลยุทธ์ “race to the bottom” หรือ การแข่งขันสู่ความตกต่ำสุด มาใช้ ในระดับมหภาค ความล้มเหลวนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของ “การติดกับดักรายได้ปานกลาง” ตลาดระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคคือกุญแจสำคัญที่จะป้องกันผลลัพธ์นี้ และจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน

นโยบายที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนังในอาเซียนควรมีการนำควาแตกต่างของแต่ละประเทศสมาชิกมาพิจารณาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพลวัตของความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศ ซึ่งโดยหลักแล้วเกิดจากความแตกต่างในความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและทรัพยากร การส่งเสริมการรวมกันในระดับภูมิภาคในระดับที่มากขึ้นจะช่วยขยายเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าภายในภูมิภาคให้กว้างและลึกขึ้น เพื่อส่งเสริมการรวมตัวกัน ความพยายามที่จะยกระดับทักษะของแรงงานจะเป็นเรื่องที่สำคัญ การกลับไปให้ความสำคัญกับตลาดในระดับภูมิภาคของอาเซียนจะเป็นผลดีต่อการยกระดับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

1 อุตสาหกรรมนี้มักรวม “เครื่องหนัง” เอาไว้ด้วย ดังนั้น ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจึงเป็นการกล่าวถึงสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง

<<ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น>>
ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่นในปี 2524 ได้ส่งเสริมการส่งออกจากอาเซียนไปสู่ญี่ปุ่นพร้อมกับการช่วยฟื้นฟูการลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น
URL: https://www.asean.or.jp/en/

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20200331005288/en/

ติตด่อ:

ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
Tomoko Miyauchi
อีเมล: toiawase_ga@asean.or.jp

The Bangkok Reporter